สำหรับองค์กรยุคใหม่ ของพรีเมี่ยม หรือสินค้าพรีเมี่ยมถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจอย่างนึง อาจเรียกได้ว่าหลายองค์กรให้ความสำคัญกับของพรีเมี่ยมไม่น้อยไปกว่าสินค้าในไลน์ผลิตของบริษัทเองเลยก็ว่าได้ เพราะการตลาด และพฤติกรรมผู้บริโภคนั้นมักมีการแปรผันตามชื่อเสียงแบรนด์ ภาพลักษณ์องค์กร ซึ่งหากบริษัทไหนสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ตนเองได้ และสร้างการจดจำในองค์กรแก่ผู้คนจำนวนมากได้ก็มีแนวโน้มที่สินค้าและบริการของตนเองจะได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคตามไปด้วย อย่างไรก็ตามแม้ว่าสินค้าพรีเมี่ยมดูจะมีความสำคัญไม่น้อยดังที่กล่าวมา แต่การทุ่มงบเพื่อจัดทำของพรีเมี่ยมสักชิ้นสำหรับใช้ในแคมเปญการตลาดต่างๆ ก็ยังถือเป็นข้อจำกัดของหลายบริษัท เพราะของพรีเมี่ยมนับเป็นสินค้าที่ทำออกมาแล้วไม่สามารถวัดคาดหวังการได้รับต้นทุนการผลิตคืนได้ เนื่องจากกิจกรรมทางการตลาดส่วนใหญ่มักเป็นลักษณะของการแจกแถม หรือมอบสินค้าพรีเมี่ยมชิ้นนั้นๆ เป็นรางวัลตอบแทนลูกค้าสำหรับการร่วมกิจกรรม ความยากอย่างนึงในการออกแบบและสั่งผลิตของพรีเมี่ยมสักชิ้น จึงเป็นการพยายามควบคุมต้นทุนให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม ในบทความนี้จึงได้นำเอาเทคนิคการลดต้นทุนในขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้หลายบริษัทสามารถสั่งผลิตสินค้าพรีเมี่ยมใดๆ เพื่อใช้ในแคมเปญการตลาดต่างๆ ได้อย่างคุ้มค่าที่สุดบนงบประมาณที่สามารถควบคุมได้
เลือกใช้แบบมาตรฐานของตัวสินค้าจากโรงงานผู้ผลิต ในการหาไอเดียออกแบบของพรีเมี่ยมสักชิ้น โดยส่วนมากแล้วเรามักคิดถึงไอเดียรูปทรงที่มีความแปลกใหม่ แตกต่างจากดีไซน์สินค้ามาตรฐานทั่วไป เพราะจะช่วยทำให้หน้าตาสินค้าออกมามีความโดดเด่น แต่การพยายามครีเอทรูปทรงที่แปลกใหม่ก็มาพร้อมกับต้นทุนการสั่งผลิตสินค้าที่สูงตามไปด้วย ดังนั้นหนึ่งในวิธีเซฟต้นทุนจึงเป็นการเลือกใช้ดีไซน์รูปทรงมาตรฐานตามแบบที่ทางโรงงานผู้ผลิตมีให้เลือก และใช้เทคนิคปรับแต่งรายละเอียดดีไซน์ส่วนต่างๆ เพื่อสร้างความแตกต่างแทนที่ส่วนของรูปทรง เช่น การเลือกใช้สี การเพิ่มลวดลายส่วนขอบ
กำหนดจำนวนที่ต้องการใช้งานให้ชัดเจน อีกหนึ่งเทคนิคที่จะช่วยให้คุมต้นทุนการสั่งผลิตของพรีเมี่ยมใดๆ ให้ชัดเจนและไม่บานปลายได้ก็คือ การกำหนดจำนวนการสั่งผลิตให้พอดีกับจำนวนลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ซึ่งสามารถทราบได้จากแผนแคมเปญการตลาดนั้นๆ ที่บริษัทจัดทำขึ้น ทั้งนี้ในกรณีที่ไม่สามารถทราบจำนวนที่ชัดเจนของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับของพรีเมี่ยมชิ้นนั้นๆ ไปก็ไม่ควรเลือกเผื่อจำนวนการสั่งผลิตมากเกินไป เพราะโดยทั่วไปแล้วต้นทุนการสั่งผลิตของพรีเมี่ยมในจำนวนส่วนเกิน(จากที่ใช้งานจริง) มักเป็นต้นทุนสูญเปล่า กล่าวคือสินค้าชิ้นใดๆ ที่นำมาผลิตเป็นของพรีเมี่ยมมักถูกเลือก และออกแบบโดยคำนึงที่ความเหมาะสมสำหรับกิจกรรมการตลาด หรือแคมเปญตลาดครั้งนั้นๆ เท่านั้น ไม่ได้เหมาะที่จะนำไปใช้งานกับแคมเปญอื่นๆ
เลือกตัดแพ็คเกจที่ไม่จำเป็นออก ในการสั่งผลิตของพรีเมี่ยมใดๆ ในปัจจุบัน โรงงานผู้ผลิตมักมีให้เราเลือกสั่งผลิตพร้อมแพ็คเกจสินค้า ตัวอย่างเช่น หากเป็นปากกาพรีเมี่ยมก็จะมีแบบที่มาพร้อมกับกล่องใส่ปากกา หากเป็นกระบอกน้ำพรีเมี่ยมก็จะมีแบบที่มาพร้อมกับกระเป๋าหิ้วสำหรับใส่กระบอกน้ำ แก้วน้ำ ซึ่งแม้ว่าแพ็คเกจเหล่านี้จะทำให้สินค้าดูน่าสนใจ น่าใช้งานมากขึ้น แต่เมื่อมองในแง่ความจำเป็น ความเหมาะสมกับการใช้งานสินค้าในแคมเปญต่างๆ ต้องถือว่าแพ็คเกจบางอย่างนั้นไม่ได้มีความจำเป็นซะทีเดียว อาจเรียกได้ว่าเป็นส่วนที่ทำให้ต้นทุนบานซะเปล่าๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสั่งผลิตจำนวนมากๆ สำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของบริษัท ดังนั้นในการเลือกสั่งผลิตของพรีเมี่ยมใดๆ จึงควรตัดแพ็คเกจบางส่วนออกไปตามความเหมาะสม หรืออาจเลือกใช้งานแพ็คเกจเฉพาะในบางแคมเปญ บางกลุ่มเป้าหมาย เช่น ถุงผ้าสำหรับใส่ของพรีเมี่ยม ใช้เฉพาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มียอดการซื้อสินค้าของบริษัทถึงเป้า หรือมีการสะสมคะแนนจากการซื้อสินค้าถึงเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด เป็นต้น
Save my name, email, and website in this browser for the next time I comment.