ในโลกของเทคโนโลยีปัจจุบัน การทำงานในคอมพิวเตอร์ การเก็บหรือส่งต่อข้อมูลต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องที่มีความสำคัญและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทำให้ยอดการผลิตและจำหน่ายแฟลชไดร์ฟสูงขึ้นมาเป็นอันดับต้น ๆ ของยอดขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ หลาย ๆ คนเคยสงสัยไหมคะว่า แฟลชไดร์ฟที่ซื้อมานั้น ทำไม่หน้ากล่องหรือบนตัวแฟลชไดร์ฟเขียนความจุไว้ไม่ตรงกับข้อมูลในคอมพิวเตอร์ตอนเสียบใช้ เกิดความผิดพลาด ได้แฟลชไดร์ฟปลอม หรือว่าโดนคนขายหลอก วันนี้เราจึงเอาข้อมูลความรู้เรื่องความจุในแฟลชไดร์ฟมาให้ทุกคนได้ลองอ่านกันค่ะ
อันดับแรกให้ทุกคนทำความเข้าใจก่อนว่า ในระบบคอมพิวเตอร์นั้นจะใช้ระบบเลขฐานสองเป็นตัวอ่านค่าข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งต่างจากเราในปัจจุบันที่จะใช้ตัวเลขในชีวิตประจำวันเป็นเลขฐานสิบ โดยนอกจากระบบเลขฐานสองในคอมพิวเตอร์ก็อาจจะมี เลขฐานแปด และเลขฐานสิบหกร่วมด้วย ซึ่งทำให้การแปลค่าตัวเลขต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์อาจจะไม่ตรงกับความเข้าใจของเรา ยกตัวอย่างเช่น 1,000 ไบต์ =1 กิโลไบต์ / 1,000 กิโลไบต์ = 1 เมกกะไบต์ / 1,000 เมกกะไบต์ = 1 กิกะไบต์ / 1,000 กิกะไบต์ = 1 เทระไบต์ ในความเข้าใจของเราจะเป็นลักษณะของเลขฐานสิบในลักษณะนี้ แต่ขณะเดียวกันในระบบคอมพิวเตอร์นั้นจะมองตัวเลขทั้งหมดนี้และประมวลออกมาเป็นเลขฐานสอง ทำให้ได้ออกมาเป็นรูปแบบ 1,024 ไบต์ = 1 กิโลไบต์ / 1,024 กิโลไบต์ = 1 เมกกะไบต์ / 1,024 เมกกะไบต์ = 1 กิกะไบต์ นั่นเอง
จากตัวเลขด้านบนทำให้เห็นว่าตัวเลขที่ระบบคอมพิวเตอร์คำนวนกับความเข้าใจของเรานั้นจะมีความแตกต่างกันอยู่เล็กน้อย ทำให้เมื่อเราซื้อแฟลชไดร์ฟมาและเสียบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วจำนวนความจุของเครื่องคอมพิวเตอร์กับแฟลชไดร์ฟไม่เท่ากัน ซึ่งหากเป็นในลักษณะแบบนี้ ความจุของแฟลชไดร์ฟที่โชว์ในคอมพิวเตอร์อาจจะหายไปเล็กน้อย ประมาณ 1-2 กิกะไบต์
วิธีการคำนวณง่าย ๆ ว่าแฟลชไดร์ฟที่เราซื้อมานั้นจะสามารถใช้ความจุตามจริงได้เท่าไหรเมื่อเสียบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ก็คือ การหารด้วยหน่วยความจุ เช่นซื้อแฟลชไดร์ฟมา 16 กิกะไบต์ ซึ่ง 16 กิกะไบต์เท่ากับ 16,000,000 ไบต์(16พันล้านไบต์) เราสามารถลองคำนวณง่าย ๆ ด้วยการ นำ 16,000,000 ไบต์ หารด้วย กิโลไบต์ 1,024 และหารด้วย เมกกะไบต์ 102.4 และหารด้วยกิกะไบต์ 10.24 ก็จะได้ 14.90 ซึ่งเป็นความจุที่จะแสดงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเมื่อเราซื้อแฟลชไดร์ฟ ขนาด 16 กิกะไบต์นั่นเอง
หากเราลองพิจารณาดูจะเห็นว่าจริง ๆ แล้วนั้นความจุในแฟลชไดร์ฟของเราไม่ได้หายไปไหนเลย เพียงแต่ว่าความเข้าใจของคนส่วนใหญ่มักจะตีตัวเลขเป็นเลขฐานสิบ แต่คอมพิวเตอร์จะคำนวณเป็นเลขฐานสอง ซึ่งหากลองพิจารณดูแล้วก็จะเห็นว่ามีความจุที่แตกต่างกันอยู่ 24 หน่วย หรือประมาณ 7 % เท่านี้ก็สบายใจกันได้แล้วใช่ไหมคะว่าจริง ๆ แล้วแฟลชไดร์ฟที่เราซื้อมานั้นไม่ได้โดนหลอกหรือโดนโกงความจุนะคะ เพียงแต่แค่การอ่านค่าของมนุษย์กับระบบคอมพิวเตอร์มีความแตกต่างกันเท่านั้นเองค่ะ
ถึงแม้ว่าแฟลชไดร์ฟนั้นจะมีประโยชน์ในการช่วยจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้ดีมากอยู่แล้วก็ตาม แต่การทำงานให้รอบคอบก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน การทำงานนั้นนอกจากจะมีการสำรองไฟล์ของมูลที่สำคัญไว้ในเครื่องแล้วก็ควรที่จะพกปากกาสักแท่งไว้จดรายละเอียดคร่าว ๆ เพิ่มด้วยนะคะเพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย นอกจากนี้แล้ว อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ก็มีความสำคัญสำหรับการทำงานมากเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น Power bank หรือ ปลั๊กยูนิเวิร์ดแซล เพราะการทำงานบางครั้งอาจจะมีการเดินทางไปทำงานนอกสถานที่ ซึ่งการเตรียมความพร้อมทั้งตนเอง และเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทำงานให้มีความพร้อมอยู่ตลอดเวลาจะทำให้เราดูเป็นมืออาชีพและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นด้วยค่ะ