ในการเลือกหาสินค้าสักชิ้นมาจัดทำเป็นของพรีเมี่ยมสำหรับใช้ในกิจกรรม หรือแคมเปญการตลาดต่างๆ นั้น หลายคนอาจจะพอทราบกันดีอยู่แล้ว เราจำเป็นต้องคัดเลือกจากคุณสมบัติของตัวสินค้าที่เหมาะสมสำหรับใช้ประโยชน์ทางการตลาด ตัวอย่างเช่น เป็นสินค้าที่มีต้นทุนราคาต่อชิ้นถูก มีขนาดเล็กกะทัดรัด สามารถใช้ได้กับกลุ่มลูกค้าหลากหลายช่วงอายุ เป็นต้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าสินค้าบางหมวด บางชนิดจะมีคุณสมบัติเข้าข่ายที่จะใช้เป็นของพรีเมี่ยมได้หลายประการ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นสินค้าที่เหมาะสำหรับเลือกนำมาใช้เป็นสินค้าพรีเมี่ยมสำหรับแคมเปญการตลาดต่างๆ เสมอไป เนื่องด้วยอาจมีข้อจำกัดบางประการที่ทำให้สินค้าชนิดนั้นๆ แตกต่างไปจากของพรีเมี่ยมทั่วๆไป ตัวอย่างเช่น สินค้าหมวดเครื่องประดับ สร้อยข้อมือ สร้อยคอ ปลอกแขนแฟชั่น ฯลฯ ซึ่งเป็นหมวดสินค้าที่มีราคาต้นทุนในการสั่งผลิตต่ำ มีความยืดหยุ่นในการเลือกใช้วัสดุผลิต และมีขนาดกะทัดรัดจนทำให้นักการตลาดบางคนเข้าใจผิดว่ามีคุณสมบัติเพียงพอที่จะใช้ทำเป็นของพรีเมี่ยมสำหรับแจก แถมให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ และนำมาซึ่งผลลัพธ์ทางการตลาดที่น่าผิดหวังเมื่อนำไปใช้งานจริง ในบทความนี้จึงจะมาอธิบายให้ได้ทราบกันว่าทำไมสินค้าอย่างเครื่องประดับที่ดูจะมีคุณสมบัติเหมาะสมในการใช้เป็นของพรีเมี่ยมในแคมเปญการตลาดต่างๆ จึงไม่เป็นที่นิยมและไม่ควรนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาด เครื่องประดับเป็นสินค้าที่ไม่ได้มีประโยชน์ใช้สอยที่จำเป็น เหตุผลสำคัญประการแรกที่ทำให้สินค้าหมวดเครื่องประดับไม่เหมาะจะใช้เป็นของพรีเมี่ยมสำหรับแคมเปญการตลาดๆ แม้ว่าตัวสินค้าจะมีขนาดเล็กกะทัดรัด พกพาได้สะดวก เช่นเดียวกับคุณสมบัติพื้นฐานทั่วไปของสินค้าพรีเมี่ยมยอดนิยมก็คือ การที่สินค้าไม่มีประโยชน์ใช้สอยที่จำเป็นนั่นเอง ประโยชน์หนึ่งเดียวสำหรับสินค้าหมวดเครื่องประดับแฟชั่นก็คือ ความเป็นแฟชั่น หรือความสวยงามนั่นเอง ขณะที่ของพรีเมี่ยมยอดนิยมหลายๆ ชิ้น ล้วนมีประโยชน์ใช้สอยที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น เสื้อยืด ปากกา ร่ม ทั้งนี้การที่ตัวสินค้ามีประโยชน์ใช้สอยพื้นฐานที่จำเป็นในชีวิตประจำวันนั้นจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการหยิบจับสินค้ามาใช้งานบ่อย และนั่นก็จะกระตุ้นให้ตัวผู้บริโภคจดจำที่มาของตัวสินค้า หรือแบรนด์ องค์กรที่จัดทำขึ้นมาได้ดีขึ้นไปด้วยนั่นเอง รสนิยมด้านแฟชั่นของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายนั้นมีหลากหลายและคาดเดาได้ยาก ตามเหตุผลเรื่องประโยชน์ใช้สอยที่จำเป็นตามที่อธิบายไปในข้อแรกนั้น หากมองในมุมของการคาดเดาผลลัพธ์ทางการตลาดก็อาจมีข้อโต้แย้งได้ว่า แม้ตัวสินค้าจะไม่มีประโยชน์ใช้สอยที่จำเป็น แต่ผู้บริโภค หรือตัวลูกค้าที่ชื่นชอบในเครื่องประดับชิ้นนั้นๆ ก็อาจหยิบจับของพรีเมี่ยมมาสวมใส่ได้บ่อยครั้ง และด้วยความที่สินค้าเป็นเครื่องประดับก็ย่อมมีแนวโน้มที่จะอยู่ติดตัวบุคคลได้นานกว่าสินค้าประเภทอื่นๆด้วยซ้ำ แต่ทว่าในความเป็นจริงรสนิยมด้านแฟชั่นของผู้บริโภค กลุ่มลูกค้าเป้าหมายต่างๆ ถือว่ามีความซับซ้อนและคาดเดาได้ยากกว่ารสนิยมด้านอื่นๆ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะออกแบบสินค้าสักชิ้นให้ถูกใจลูกค้าจำนวนมากได้ ยากต่อการสื่อสารไอเดีย อย่างที่ทราบกันว่าหนึ่งในหัวใจสำคัญของการจัดทำของพรีเมี่ยมเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยโปรโมทในแคมเปญการตลาดต่างๆ นั้น ก็คือการสื่อสารไอเดียใดๆ ออกไป ไม่ว่าจะเป็นเอกลักษณ์ขององค์กร เป้าหมาย ปณิธานขององค์กร ซึ่งสินค้าอย่างเครื่องประดับนั้น หลายชิ้นถือว่ามีขนาดเล็กเกินกว่าจะเลือกใส่ข้อความ ไอเดียใดๆ ที่ต้องการสื่อสารออกไป และด้วยความที่ตัวสินค้าไม่มีประโยชน์ใช้สอยจำเป็นใดๆ ก็ยิ่งทำให้การดีไซน์จำเป็นต้องคำนึงถึงแฟชั่นเป็นหลัก นั่นจึงทำให้การจะสอดแทรกไอเดียใดๆ ลงไปเป็นเรื่องยากมากกว่าเดิม แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ก็อาจมีสินค้าบางชิ้นที่เป็นข้อยกเว้น ตัวอย่างเช่น ริสแบนด์สวมข้อแขน ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องประดับไม่กี่ชิ้นที่เหมาะสำหรับการใส่ตัวอักษร ข้อความใดๆ เพื่อสื่อสารไอเดียลงไป